เมนู

ในกาลนั้น โลกย่อมถูกน้ำทำลายให้แหลกเหลวไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นสุภกิณหะ
ลงมา. ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะลม, ในกาลนั้น โลกย่อมถูกลมพัด
ให้กระจัดกระจายไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นเวหัปผละลงมา. ก็โดยส่วนมาก* พุทธเขต
อย่างหนึ่ง (คือเขตของพระพุทธเจ้า) ย่อมพินาศไป แม้ในกาลทุกเมื่อ.
[

พุทธเขต 3 พร้อมทั้งอรรถาธิบาย

]
ขึ้นชื่อว่า พุทธเขต (คือเขตของพระพุทธเจ้า) มี 3 คือ ชาติเขต
(คือเขตที่ประสูติ) 1 อาณาเขต (คือเขตแห่งอำนาจ) 1 วิสัยเขต (คือ
เขตแห่งอารมณ์ หรือความหวัง) 1.
ในพุทธเขต 3 อย่างนั้น สถานเป็นที่หวั่นไหวแล้ว เพราะเหตุทั้งหลาย
มีการถือปฏิสนธิเป็นต้น ของพระตถาคต ชื่อ ชาติเขต ซึ่งมีหมื่นจักวาล
เป็นที่สุด,
สถานที่อานุภาพแห่งพระปริตรเหล่านี้ คือ รัตนปริตร เมตตาปริตร
ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร เป็นไปชื่อว่า อาณาเขต
ซึ่งมีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด.
เขตเป็นที่พึงซึ่งพระองค์ทรงระลึกจำนงหวัง ที่พระองค์ทรงหมายถึง
ตรัสไว้ว่า ก็หรือว่า ตถาคตพึงหวังโลกธาตุมีประมาณเพียงใด ดังนี้เป็นต้น
ชื่อว่า วิสัยเขต ซึ่งมีประมาณหาที่สุดมิได้.
บรรดาพุทธเขตทั้ง 3 เหล่านั้น อาณาเขตอย่างหนึ่ง ย่อมพินาศไป
ดังพรรณนามาฉะนี้, ก็เมื่ออาณาเขตนั้นพินาศอยู่ ชาติเขตก็ย่อมเป็นอันพินาศ
ไปด้วยเหมือนกัน. และชาติเขตเมื่อพินาศไป ก็ย่อมพินาศโดยรวมกันไปทีเดียว.
แม้เมื่อดำรงอยู่ ก็ย่อมดำรงอยู่โดยรวมกัน. ความพินาศไป และความดำรงอยู่
* วิตฺถารโตติ ปุถุกโต. โยชนา 1 / 161

แห่งเขตนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค* . นักศึกษา
ทั้งหลายผู้มีความต้องการ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคนั้น.
ก็บรรดาสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้ว
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ โพธิมัณฑ์ เพื่อต้องการตรัสรู้
ยิ่งซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงระลึก (บุพเพนิวาสได้) ตลอดสังวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้าง.
ทรงระลึกได้ โดยนัยอย่างไร ?
คือทรงระลึกได้โดยนัยว่า อมุตฺตราสึ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมุตฺตราสึ ความว่า ในสังวัฏฏกัป
ชื่อโน้น เราได้มีแล้ว คือในภพก็ดี ในกำเนิดก็ดี ในคติก็ดี ในวิญญาณฐิติก็ดี
ในสัตตาวาสก็ดี ในสัตตนิกายก็ดี ชื่อโน้น เราได้มีแล้ว.
บทว่า เอวนฺนาโม ความว่า (ในภพเป็นต้นชื่อโน้น) เรามีชื่อว่า
เวสสันดร หรือมีชื่อว่า โชติบาล.
บทว่า เอวํโคตฺโต ความว่า เราเป็นภควโคตรหรือโคตมโคตร.
บทว่า เอวํวณฺโณ ความว่า เราเป็นผู้มีผิวขาว หรือดำคล้ำ.
บทว่า เอวมาหาโร ความว่า เรามีอาหารคือข้าวสุขแห่งข้าวสาลีที่
ปรุงด้วยเนื้อ หรือมีผลไม้ที่หล่นเองเป็นของบริโภค.
บทว่า เอวํสุททุกฺขปฏิสํเวที ความว่า เราได้เสวยสุขและทุกข์
ต่างโดยประเภทมีสามิสสุขและนิรามิสสุขเป็นต้น ที่เป็นไปทางกายและทางจิต
โดยอเนกประการบ้าง.
* วิสุทธิมรรค 2 / 225-265.

บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า (ในภพเป็นต้นชื่อโน้น) เรามี
ที่สุดแห่งอายุมีกำหนดได้ร้อยปี หรือมีที่สุดแห่งอายุมีกำหนดได้แปดหมื่นสี่พัน
กัป อย่างนั้น.
หลายบทว่า โส ตโต สุโต อมุตฺร อุทปาทึ ความว่า เรานั้น
จุติจากภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายนั้นแล้ว
จึงได้เกิดขึ้นในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือในสัตตนิกาย
ชื่อโน้นอีก.
บทว่า ตตฺราปาสึ ความว่า ภายหลังเราได้มีแล้ว ในภพ กำเนิด
คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือในสัตตนิกายแม้นั้น ซ้ำอีก. คำว่า เอวํนาโม
เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะการระลึกนี้ว่า อมุตฺราสึ เป็นการทรงระลึก
ตามที่ต้องการของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงระลึกขึ้นไปตามลำดับ, การระลึก
นี้ว่า โส ตโต จุโต เป็นการพิจารณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงระลึก
ถอยหลังกลับ, เพราะฉะนั้น พึงทราบใจความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
หมายเอาภพดุสิต จึงตรัสคำนี้ว่า อมุตฺร อุทปาทึ ในลำดับแห่งการทรงอุบัติ
ขึ้นในภพนี้ ๆ ว่า อิธูปปนฺโน.
หลายบทว่า ตตฺราปาสึ เอวนฺนาโม ความว่า เราได้เป็นเทวบุตร
มีนามว่า เสตุเกตุ ในดุสิตพิภพแม้นั้น.
บทว่า เอวํโคตฺโต ความว่า เรามีโคตรอย่างเดียวกันกับเทวดา
เหล่านั้น.
บทว่า เอวํวณฺโณ ความว่า เรามีผิวพรรณดุจทอง.
บทว่า เอวมาหาโร ความว่า เรามีอาหารขาวสะอาดเป็นทิพย์.

บทว่า เอวํสุขทุกฺขปฏิสํเวที ความว่า เราได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์
อย่างนี้. ส่วนทุกข์ เป็นเพียงทุกข์ประจำสังขารเท่านั้น.
บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า เรามีที่สุดแห่งอายุห้าสิบเจ็ด
โกฏิกับหกสิบแสนปี อย่างนี้.
หลายบทว่า โส ตโต จุโต ความว่า เรานั้น จุติจากดุสิตพิภพ
นั้นแล้ว.
ชุมนุมบทว่า อิธูปปนฺโน ความว่า เราเกิดแล้วในพระครรภ์ของ
พระนางมหามายาเทวีในภพนี้.
บทว่า อิติ แปลว่า ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า สาการํ สอุทฺเทสํ คือพร้อมด้วยอุเทศ ด้วยอำนาจ
ชื่อและโคตร, พร้อมด้วยอาการ ด้วยอำนาจผิวพรรณเป็นต้น.
จริงอยู่ สัตว์ คน อันชาวโลกย่อมแสดงขึ้น ด้วยชื่อและโคตรว่า
ติสสะ โคตมะ ดังนี้. สัตว์ ย่อมปรากฏโดยความเป็นต่าง ๆ กัน ด้วยผิวพรรณ
เป็นอาทิว่า ขาว ดำคล้ำ ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ชื่อและโคตร ชื่อว่า
อุเทศ, ผิวพรรณเป็นต้นนอกนี้ ชื่อว่าอาการ.

พวกเดียรถีย์ระลึกชาติได้ 40 กัป


ถามว่า ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงระลึกบุพเพนิวาสได้พวกเดียว
เท่านั้นหรือ ? ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป :- พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรง
ระลึกได้พวกเดียว ก็หาไม่, ถึงแม้พระปัจเจกพุทธ พระสาวกและเดียรถีย์
ก็ระลึกได้, แต่ว่าระลึกได้โดยไม่วิเศษเลย.* จริงอยู่ พวกเดียรถีย์ ย่อมระลึก
ได้เพียง 40 กัปเท่านั้น เลยจากนั้นไป ระลึกไม่ได้.
* สารัตถทีปนี 1 / 613 เป็น. . . อวิเสเสน.